วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคอีโบล่า


ในปี 2557 กำลังมีการระบาดกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ของโรคไวรัสอีโบลาในหลายประเทศแอฟริกาตะวันตก โรคมีอัตราตายสำคัญ โดยอัตราป่วยตายที่รายงานประมาณ 71% การระบาดเริ่มในประเทศกินีในเดือนสิงหาคม 2556 แล้วลุกลามไปยังประเทศไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน มีการระบาดขนาดเล็กในประเทศไนจีเรีย มีผู้ป่วย 20 คน และประเทศเซเนกัล มีผู้ป่วย 1 คน ประเทศไนจีเรียและเซเนกัลได้รับประกาศให้ปลอดโรคเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมหลังระยะรอ 42 วัน มีรายงานการติดเชื้อทุติยภูมิของเจ้าหน้าที่การแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและประเทศสเปน แต่มิได้แพร่กระจายอีก มีการระบุผู้ป่วยจากต่างประเทศคนหนึ่งในประเทศมาลี โดยกำลังสืบสวนผู้ป่วยที่เป็นไปได้อีกสองคน การระบาดต่างหากของโรคไวรัสอโบลาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งเริ่มเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 แสดงโดยการวิเคราะห์พันธุกรรมแล้วว่าไม่เชื่อมโยงกับโรคระบาดหลัก
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยรวม 13,567 คน และเสียชีวิต 4,922 คน แม้องค์การอนามัยโลกเชื่อว่าจำนวนดังกล่าวแสดงขนาดของการระบาดต่ำกว่าความเป็นจริงมาก โดยตัวเลขแท้จริงมากเป็นสามเท่าของผู้ป่วยที่รายงาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเตือนในกลางเดือนตุลาคมว่า อาจมีผู้ป่วยโรคไวรัสอีโบลาใหม่มากถึง 10,000 คนต่อสัปดาห์เมื่อถึงเดือนธันวาคม 2557 ผู้ป่วยแทบทั้งหมดเกิดในสามประเทศตั้งต้น




บางประเทศประสบความยากลำบากในความพยายามควบคุมโรคระบาด ในบางพื้นที่ ประชาชนสงสัยทั้งรัฐบาลและโรงพยาบาล บ้างถูกผู้ประท้วงที่โกรธโจมตีเพราะเชื่อว่าโรคเป็นการหลอกลวงหรือโรงพยาบาลเป็นสาเหตุของโรค หลายพื้นที่ที่ได้รับผลจากการระบาดรุนแรงเป็นพื้นที่ที่ยากจนสุดขีดซึ่งเข้าถึงสบู่และน้ำไหลซึ่งจำเป็นในการช่วยควบคุมการระบาดของโรค ปัจจัยอื่นมีการพึ่งพาการแพทย์แผนโบราณและการปฏิบัติทางวัฒนธรรมซึ่งมีการสัมผัสทางกายกับผู้ตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมเนียมศพ เช่น การล้างและจุมพิตร่างของผู้ตาย บางโรงพยาบาลขนาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือและขาดเจ้าหน้าที่ ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่สัมผัสกับไวรัสเสียเอง เมื่อเดือนสิงหาคม องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ผู้เสียชีวิตร้อยละ 10 เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อปลายเดือนสิงหาคม องค์การอนามัยโลกรายงานว่า การสูญเสียเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวนมากทำให้ยากต่อการหาเจ้าหน้าที่การแพทย์ต่างประเทศเพียงพอ ในเดือนกันยายน องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ขีดความสามารถของประเทศเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสอีโบลาไม่เพียงพอเทียบเท่า 2,122 เตียง เมื่อปลายเดือนตุลาคม หลายโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ได้รับผลทำงานได้บกพร่องหรือปิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขบางคนระบุว่า ความไร้ความสามารถรักษาสิ่งจำเป็นทางการแพทย์อื่นอาจก่อ "ยอดเสียชีวิตเพิ่ม[ซึ่ง]คาดว่าจะเกินยอดเสียชีวิตจากการระบาดเอง"

เมื่อเดือนกันยายน 2557 แพทย์ไร้พรมแดน องค์การนอกภาครัฐใหญ่สุดที่ทำงานในประเทศที่ได้รับผล วิจารณ์การสนองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน ประธานแพทย์ไร้พรมแดนกล่าวถึงการขาดความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ว่า "หกเดือนกับโรคระบาดอีโบลาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ โลกกำลังพ่ายการต่อสู้เพื่อจำกัดมัน" โฆษกสหประชาชาติแถลงว่า "พวกเขาสามารถหยุดการระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกใน 6 ถึง 9 เดือน แต่เฉพาะหากการสนองทั่วโลก 'ขนานใหญ่' มีการนำไปปฏิบัติ" ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มาร์กาเรต ชาน เรียกโรคระบาดนี้ว่า "ใหญ่สุด ซับซ้อนที่สุด และรุนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยเห็น" และกล่าวว่าองค์การฯ "กำลังเร่งความพยายามควบคุม" ในถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 26 กันยายน องค์การอนามัยโลกแถลงว่า "โรคระบาดอีโบลาซึ่งกำลังผลาญแอฟริกาตะวันตกบางส่วนเป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขเฉียบพลันที่รุนแรงที่สุดที่พบในสมัยใหม่"

อาการของโรคอีโบลา Ebola
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ2-21วัน(ระยะฟักตัว) ระยะแรกจะมีอาการดังต่อไปนี้
  • ไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะอย่างมาก
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
  • เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องร่วง
อาการของโรคจะเป็นมากขึ้นเป็นลำดับ และมีอาการอีโบล่า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วงซึ่งอาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหาร ถ่ายเป็นเลือด
  • ตาแดง
  • มีผื่นนูน
  • ไอ เจ็บหน้าอก
  • จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • มีเลือดออกทางจมูก ปาก ทวาร หู ตา
  • บวมอวัยวะเพศ
สาเหตุของโรคอีโบลา
เชื้อไวรัสอีโบลาอีโบลา Ebola พบในสัตว์ เช่น ลิงชิมแปนซี
การติดต่อจากสัตว์สู่คน
คนจะได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาจากสารหลั่งของสัตว์ทาง
  • เลือดของสัตว์ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารสัตว์ป่าที่ไม่สุก
  • ของเสียของสัตว์ เช่นอุจาระค้างคาวในถ่ำ
การติดต่อจากคนสู่คน
  • สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นหากยังไม่เกิดอาการ
  • คนจะติดเชื้อเมื่อดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด
  • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์จะติดเชื้อนี้หากไม่ป้องกันตัวเองเช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่สวมถุงมือ
  • ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจะเป็นพาหะของโรค
การแพร่เชื้อของโรคอีโบลา
การแพร่เชื้อจากคนสู่คนของอีโบลามีได้หลายวิธีส่วนใหญ่จะแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งทางการสัมผัสโดยตรง (ผ่านทางเยื่อบุต่างๆเช่น ตา จมูก ปาก และแผลที่ผิวหนัง)โดยผ่านทาง
  • การสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งเช่น ปัสสาวะ น้ำลาย เหงื่อ อุจาระ อาเจียน น้ำนม น้ำเชื้อ จากคนที่ป่วย
  • เข็มฉีดยา หรือ syringesที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • สัตว์ที่ป่วย
  • ทางอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีเชื้อ(อาหารป่า) ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจเป็นตัวนำเชื้อโรค
สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์หากไม่สวมหน้ากากอนามัย เสื้อคลุม ถุงมือ แว่นตา จะมีโอกาศติดเชื้อสูง สำหรับผู้ที่หายจะโรคควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์ 3 เดือน หรือให้สวมถุงยางอนามัย
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Ebola
  • ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหากท่านไปท่องเที่ยวยังถิ่นที่มีการระบาดในอดีต
  • สำหรับนักวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ติดขณะแต่งศพ
  • เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย ญาติ เพื่อนใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ผู้ที่ทำอาหารป่า
โรคแทรกซ้อนของไวรัสอีโบลา Ebola
อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อ Ebola จะสูง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่
  • หลายอวัยวะล้มเหลว
  • เลือดออกรุนแรง
  • ดีซ่าน
  • สับสน
  • ชัก
  • โคม่าหมดสติ
  • ช็อค
สำหรับผู้ที่หายจากโรคจะใช้เป็นเดือนกว่าร่างกายจะกลับสู่ปกติ และเชื้อจะยังอยู่ในร่างกายหลายสัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
  • ผมร่วง
  • มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการรับความรู้สึก
  • ตับอักเสบ
  • อ่อนแรง
  • ปวดศีรษะ
  • ตาอักเสบ
  • อัณฑะอักเสบ
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยจะค่อนข้างยากเพราะระยะแรกของอาการจะเหมือนกับไข้ไทฟอยด์ หรือไข้มาราเรีย แต่หากได้ประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือไปยังถิ่นระบาด และแพทย์สงสัยก็จะเจาะเลือดตรวจด้วยวิธี
  • enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
  • reverse transcriptase polymerase chain reaction (PCR)
ซึ่งจะทำให้วินิจฉัยโรคได้
การรักษาโรคอีโบล่า
ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเพียงแค่การให้น้ำเกลือ การรักษาความดันโลหิต การเติมเลือด
  • การให้น้ำเกลืออย่างเพียงพอ และสมดุลของเกลือแร่
  • รักษาความดันโลหิตและออกซิเจนในเลือด
  • รักษาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
การป้องกันโรคอีโบล่า
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลา
  • หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ ก่อนจะไปเที่ยวให้ตรวจสอบพื้นที่ระบาดก่อนท่องเที่ยว
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆโดยใช้น้ำเปลา และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลล์สำหรับล้างมือหากไม่มีน้ำหรือสบู่
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับตนในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
  • ผักและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ป่าอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งเช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด น้ำเชื้อของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงของประจำตัวของผู้ป่วยเช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีเชื้อปนเปื้อน
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เส้ือคลุ่ม แว่นตาเมื่อต้องดูแลผู้ป่วย
  • ศพของผู้เสียชีวิตยังสามารถแพร่เชื้อได้ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ไม่นอนในโรงพยาบาลที่มีคนป่วยด้วยโรคอีโบลา
  • หากอยู่ในแหล่งระบาดจะต้องเฝ้าดูอาการอีก 21 วัน
สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่นหน้ากากอนามัย แว่นตา เสื้อคลุม ถุงมือ หมวก
  • แยกผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจากผู้ป่วยอื่น
  • จัดการเรื่องศพให้ดีเพราะเกิดการแพร่เชื้อจากศพได้
  • แจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • ให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ

  • สัญญาณหรืออาการป่วย 

    EVD ก่อโรคแบบเฉียบพลันและรุนแรง ซึ่งบ่อยครั้งพิจารณาได้จากการมีไข้อย่างปุบปับ, การรู้สึกไม่สบายหรือร่างกายอ่อนแออย่างมาก, เจ็บปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหัว และเจ็บคอหอย ตามมาด้วยการอาเจียน, ท้องเสีย, เกิดผื่น, ไตและตับล้มเหลว และในบางกรณีอาจพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดลดต่ำลง และมีเอนไซม์ตับเพิ่มมากขึ้น 
    ผู้ที่ติดเชื้อนั้นตราบใดที่ยังมีไวรัสและสารคัดหลั่งอยู่ในตัว พบว่าก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ดังกรณีตัวอย่างของชายคนหนึ่งที่ติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ ยังพบไวรัสอีโบลาได้จากน้ำเชื้อ 61 วันหลังจากเริ่มป่วย 
    ช่วงระยะฟักตัว (ช่วงเวลาหลังจากติดเชื้อไวรัสจนเริ่มมีอาการ) อยู่ที่ 2-21 วัน  

 


วัคซีนและการรักษา


ยังไม่มีวัคซีนสำหรับ EVD ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ มีวัคซีนหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการทดสอบ แต่ยังไม่มีชนิดใดเลยที่พร้อมสำหรับให้ใช้ทางคลินิกได้
ผู้ป่วยหนักต้องการการรักษาอย่างเข้มงวดมาก ผู้ป่วยมักมีอาการขาดน้ำ และต้องการน้ำและ  สารละลายที่มีสารเกลือแร่ผ่านทางปากเพื่อชดเชย หรืออาจให้น้ำเกลือใต้ผิวหนัง  ยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างจำเพาะเจาะจง ยาชนิดใหม่ๆ อยู่ระหว่างการประเมินผล
 

สัตว์เจ้าเรือนของไวรัสอีโบลา 


ในแอฟริกา ค้างคาวผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Hypsignathus monstrosus, Epomops franqueti และ Myonycteris torquata อาจเป็นสัตว์เจ้าเรือนตามธรรมชาติสำหรับไวรัสอีโบลา เนื่องจากพบว่ามีการซ้อนเหลื่อมทางภูมิศาสตร์ของกระจายตัวของค้างคาวผลไม้และไวรัสอีโบลา 
 


สมาชิกในกลุ่ม  

1.นางสาวชมพูนุช   โคตรนู                         ม.6/2           เลขที่ 17

2. นางสาวอัญทิกา  มณีวรรรณ                    ม.6/2           เลขที่ 33

3. นางสาวธิดารัตน์   ละมูล                          .6/2          เลขที่ 34

4. นางสาวปุษยา   มั่นคง                               ม.6/2          เลขที่ 35

5. นางสาวพรทิพย์   สมจิตร                         .6/2           เลขที่ 36

โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง-ลำพูน  35